Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


 
บ้านGalleryLatest imagesสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 e-citizen : GIS กับระบบแผนที่ดิจิทัลไทย

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
zero007
คนกวาดถนน
คนกวาดถนน



จำนวนข้อความ : 7
Registration date : 11/09/2008

e-citizen : GIS กับระบบแผนที่ดิจิทัลไทย Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: e-citizen : GIS กับระบบแผนที่ดิจิทัลไทย   e-citizen : GIS กับระบบแผนที่ดิจิทัลไทย EmptyThu Sep 11, 2008 10:09 pm

e-citizen : GIS กับระบบแผนที่ดิจิทัลไทย

ผศ. ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ อาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐ อาทิ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA มีการใช้งานระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) มา 10-15 ปีแล้ว แต่ไม่เป็นที่สนใจเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีการเปิดให้ใช้แผนที่ฟรี

ขณะที่ปัจจุบันมีการเปิดให้ใช้แผนที่ ฟรี โดยพ่วงไว้ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบเว็บเซอร์วิส เพื่อใช้งานในอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีการใช้งานในกลุ่มคนวงกว้างขึ้น

ล่าสุด แผนที่ดิจิทัลได้พัฒนาสู่การนำเสนอแผนที่ในรูปแบบ 3 มิติ และพาโนรามา สามารถค้นหาสถานที่ต่าง ๆ โดยพลิกดูมุมมอง ได้รอบด้าน ทั้งยังสามารถค้นหาเส้นทางไปยังสถานที่เป้าหมายโดยจำลองการขับรถไปบน เส้นทาง เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจเส้นทางในแผนที่ง่ายขึ้น

ผศ.ดร.ไพศาล กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แผนที่ดิจิทัลมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย คือ การให้บริการแผนที่ฟรี และสามารถเข้าถึงได้ง่าย อาทิ กูเกิล แม็พ, กูเกิล เอิร์ท, มัลติแม็พ, ลองดู และนูแม็พ เป็นต้น โดยบริการแผนที่เหล่านี้สามารถผนวกเข้ากับแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้เว็บ 2.0 ซึ่งเรียกว่า Mash-up Mapping ทำให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ วิวัฒนาการของระบบภูมิสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ทำให้ระบบสารสนเทศมีราคาถูกลง แต่ระบบมีประสิทธิ ภาพเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งแนวโน้มนี้เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการแพร่หลายของซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Free/Libre and Open Source Software) หรือเรียกว่า FLOSS ที่มีมากขึ้น และสามารถนำไปใช้งานได้จริง

ในประเทศไทย นักวิจัยจากคณะวิศว กรรมศาสตร์ของจุฬาฯ ได้ร่วมกับหน่วยงาน ราชการและเอกชน ทำงานวิจัยชื่อ Thai Geocoder เพื่อพัฒนาระบบ address geoco- ding service ระบบค้นหาแผนที่ภูมิสารสนเทศที่สามารถค้นหาได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องใส่ข้อมูลลองจิจูด-ละติจูด เหมือนที่ผ่านมา คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ปลาย ปีนี้

“งานวิจัยชิ้นนี้ เบื้องต้นค้นหา สถานที่จากที่อยู่ได้กว่า 5 แสนสถานที่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนประสานกับกรุงเทพมหานคร เพื่อขอเลขที่อาคารซึ่งมีอยู่ กว่า 1.6 ล้านเลขหมายอาคาร มาใส่ในระบบ เพื่อการวิจัย ซึ่งอนาคตของแผนที่ดิจิทัลเพียงใส่เลขที่บ้าน และพื้นที่ตั้ง กว้าง ๆ เป็นภาษาไทย เช่น 1/4 คอกวัว ก็สามารถ ขึ้นภาพอาคารที่ตั้งได้” ผศ.ดร.ไพศาล กล่าว

พัฒนาการของเนื้อหาที่นำเข้ามาใส่ ในระบบแผนที่ดิจิทัลนอกจากใช้ Mash-up Mapping แล้ว ยังใช้วิธีติดตั้งกล้องไว้ที่รถยนต์เพื่อบันทึกถนนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนที่ดิจิทัลในเว็บเซอร์วิส ขณะนี้กูเกิลใช้ วิธีดังกล่าวเก็บข้อมูลแผนที่ในอเมริกาแล้ว ผ่าน รถยนต์กว่า 200 คัน ซึ่งในไทยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็เริ่มดำเนินการแล้วเช่นกัน

ด้าน ดร.ชัยวัฒน์ อุตตมากร รอง ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์ปาร์ค กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดิน และ GISTDA มีแผนที่ภูมิสารสนเทศครอบคลุมทั่วประเทศ ด้วยความละเอียดสูงระดับ 1:2,000 และ 1:4,000 ตามลำดับ ผนวกกับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของไทยที่มีมากขึ้น หน่วย งานภาครัฐจึงพยายามสร้าง “แอพพลิเคชั่น โปรแกรมอินเตอร์เฟซ” (Application Program Interface : API) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐด้วยกันและเอกชนดึงข้อมูลแผนที่ไปใช้ได้ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรม

ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า ซอฟต์แวร์ปาร์ค วางยุทธศาสตร์การสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของซอฟต์แวร์ภูมิสารสนเทศใน 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวใช้นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวแบบเวอร์ชวล จีไอเอส (Virtual GIS) ซึ่งผู้เข้าชมแผนที่สามารถใช้ตัวละคร เป็นตัวแทนเดินชมเมืองเชียงใหม่ก่อนมาเที่ยวได้ ภาคการเกษตรนำแผนที่ดิจิทัลมาวิเคราะห์ความเหมาะสมในการลงทุนการเพาะปลูก เช่น ความสมบูรณ์ของดิน และแหล่งน้ำ ขณะที่ธุรกิจขนส่งสามารถใช้แผนที่ดิจิทัลคำนวณระยะทางและเวลาขนส่งได้

“ซอฟต์แวร์ปาร์คมีผู้ประกอบการซอฟต์แวร์อยู่ 100 กว่าราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการที่ทำซอฟต์แวร์แผนที่ 15 ราย เบื้องต้น จะร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผูกแผนที่ดิจิทัลเข้ากับสถานที่ท่องเที่ยวและโรงแรม เพื่อเปิดตลาดให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย” ดร.ชัยวัฒน์ กล่าว

นี่คือหนทางของการนำภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ “สมาร์ท อินดัสทรี” โดยการเชื่อมเทคโนโลยีเข้ากับอุตสาหกรรม

ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบภูมิสารสนเทศ วันที่ 11 ก.ย.นี้ เวลา 08.30-16.00 น. ซอฟต์แวร์ปาร์ค ร่วมกับ GISTDA จัดสัมมนาเรื่อง “เพิ่มอัจฉริยภาพของธุรกิจด้วยภูมิสาร สนเทศ (GIS)” ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค เข้าร่วมงานฟรี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.swpark.or.th/GEOinfo/

ที่มา เดลินิวส์
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
e-citizen : GIS กับระบบแผนที่ดิจิทัลไทย
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
 :: กระดาน เทคโนโลยี :: [ WINDOWS OS ] เซียน Windows OS-
ไปที่: